Lucky Charms Rainbow

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนครั้งที่ 3
การให้การศึกษาผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
Parent Education For Early Childhood
ผู้สอน ว่าที่ ร.ต.กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
วันพุธที่ 30 สิงหาคม2560
ความรู้ที่ได้รับ
  วันนี้มีการเล่นเกมเกี่ยวกับการสื่อสาร เพื่อนๆต่างได้ความรู้และความสนุกสนาน
➧เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารเกมทายคำ
➧เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารเกมสื่อความหมาย
➧เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสารเกมพรายกระซิบ
➧เกมส่งเสริมเรื่องการสื่อสาร เกม ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร กับใคร






ความหมายของการสื่อสาร
   - การสื่อสาร  (Communication) คือ กระบวน การส่งข่าวสาร ข้อมูล จากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
   - การติดต่อและแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ ความคิด ทัศนคติ ทักษะ และประสบการณ์ระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสารให้มีความเข้าใจ ที่ตรงกันเพื่อนำไปสู่การดำรงชีวิตที่มีความสุข

ความสำคัญของการสื่อสาร
   1.ทำให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคม
   2.ทำให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันทั้ง 2 ฝ่าย
   3.ทำให้สร้างมิตรภาพที่อบอุ่น
   4.ทำให้เกิดภาพแห่งความพึงพอใจ
   5.ช่วยในการพัฒนาอัตมโนทัศน์ เป็นการสร้างความรู้สึกที่ดีต่อตนเองก่อให้เกิดความพอใจในชีวิต

องค์ประกอบของการสื่อสาร
   1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
   2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
   3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
   4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
   5. ความเข้าใจและการตอบสนอง

 สื่อ
   ใช้วิธีพูด-เขียน หรือการนำเสนอในรูปแบบต่างๆ เช่น ใช้รูปภาพ รวมทั้งเทคโนโลยีต่างๆ โดยวิธีการติดต่อนั้นต้องใช้ตัวกลางต่างๆ เช่น คลื่นเสียง ตัวหนังสือ แผ่นกระดาษที่มีตัวหนังสือเขียน  คลื่นวิทยุโทรทัศน์ ตัวกลางเหล่านี้เรียกว่า สื่อ โดยการสื่อสารนั้นสามารถใช้สื่อหลายๆอย่างได้พร้อมๆกัน เช่น การเรียน การสอน ต้องใช้ทั้งหนังสือ กระดาน ภาพ

สาร
   คือ เรื่องราวที่รับรู้ร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็น  ข้อเท็จจริง  ข้อแนะนำ  การล้อเลียน  ความปรารถนาดี  ความห่วงใย  มนุษย์จะแสดงออกมาให้เป็นที่รับรู้ได้ การสื่อสารจะเกิดขึ้นตามกาลเทศะ  และสภาพแวดล้อมต่างๆในสังคม

วัตถุประสงค์ของการสื่อสาร
   1. เพื่อแจ้งให้ทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้ง หรือบอกกล่าวข่าวสาร ข้อมูล เหตุการณ์ ความคิด ความต้องการของตนให้ผู้รับได้ทราบ
   2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางด้านองค์ความรู้ ความคิด สติปัญญา ฉะนั้นจึงมุ่งเน้นไปที่การเรียนการสอนหรือการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการโดยเฉพาะ
   3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางจิตใจหรืออารมณ์ ความรู้สึกแก่ผู้รับสาร ซึ่งจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผู้ส่งสารมีข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับสาร และมีกลวิธีในการนำเสนอเป็นที่พอใจ
   4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม หรือยอมรับปฏิบัติตาม

ธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้ปกครองเด็กปฐมวัยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้
   • เรียนรู้ได้ดีในเรื่องของการพัฒนาเด็ก
   • เรียนรู้ได้ดีในสภาพแวดล้อมที่มีความสมานฉันท์
   • มีความแปลกใหม่และมีประโยชน์ต่อเด็ก
   • เรียนรู้ได้ดีจากการฝึกปฏิบัติ
   • เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด
   • ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน
   • เรียนรู้ได้ดีจากสื่อและอุปกรณ์ที่หลากหลาย

อุปสรรคที่สำคัญของการสื่อสาร
   • ผู้ส่งข่าวสารขาดทักษะในการสื่อสารที่ดี เช่น ใช้ภาษาที่อยากแก่การเข้าใจ หรือไม่เหมาะแก่ผู้รับ
   • ข้อมูลข่าวสารมากเกินไป
   • ได้ข่าวสารไม่ครบสมบูรณ์ ทำให้สื่อความหมายผิดๆ
   • ข้อมูลที่ส่งไปผ่านหลายขั้นตอน
   • เลือกใช้เครื่องมือในการส่งข่าวสารไม่เหมาะสม
   • รีบเร่งด่วนสรุปข่าวสารเร็วเกินไป ขาดการไตร่ตรอง
   • ผู้รับข่าวสารไม่ทบทวน หรือสอบถามให้เข้าใจเมื่อสงสัย
   • อารมณ์ของผู้รับ หรือผู้ส่งอยู่ในสภาพไม่ปกติ
   • ผู้ส่งหรือผู้รับมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง ไม่รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น

7 c กับการสื่อสารที่ดี
   • Credibility ความน่าเชื่อถือ : สามารถทำให้ผู้รับสารเกิดความเชื่อถือในสารนั้น ๆ
   • Content เนื้อหาสาระ : มีสาระให้เกิดความพึงพอใจ เร่งเร้าและชี้แนะให้เกิดการตัดสินใจได้ในลักษณะอย่างไรบ้าง
   • Clearly ความชัดเจน : การเลือกใช้คำหรือข้อความที่เข้าใจง่าย ๆ ข้อความไม่คลุมเครือ
   • Context ความเหมาะสมกับโอกาส : การเลือกใช้ภาษาและใช้สิ่งที่ส่งสารเหมาะสม
   • Channel ช่องทางการส่งสาร : การเลือกวิธีการส่งข่าวสารได้เหมาะสมและรวดเร็วที่สุด
   • Continuity consistency ความต่อเนื่องและแน่นอน : การสื่อสารกระทำอย่างต่อเนื่องมีความแน่นอนถูกต้อง
   • Clarity of audience ความสามารถของผู้รับสาร : การเลือกใช้วิธีการส่งสารซึ่งมั่นใจว่าผู้รับสารจะสามารถรับสารได้ง่ายและสะดวกโดยคำนึงถึงความรู้ เจตคติ อุปนิสัย ทักษะการใช้ภาษา สังคมวัฒนธรรมของผู้รับสารเป็นสำคัญ


วิธีการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ปกครอง  
 - ศึกษาและพยายามทำตนให้เข้าใจกับผู้ปกครอง
   - พยายามเรียนรู้ความต้องการของเขา และหาแนวทางตอบสนองตามความเหมาะสม
   - พูดคุย พบปะกับผู้ปกครองในโอกาสต่างๆ
   - หาโอกาสไปร่วมงานพิธีทางศาสนา เข้าร่วมกิจกรรมกับผู้ปกครอง
   - ทำตนให้กลมกลืนกับผู้ปกครอง
   - มีท่าทีเป็นมิตรอยู่เสมอ
   - เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองร่วมกิจกรรม

การนำไปใช้
  เราได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการสื่อสารสามารถนำไปใช้ในการพูดคุย การให้ความรู้ผู้ปกครองได้

การประเมิน
ตนเอง➤ สนุกกับกิจกรรมที่อาจารย์ให้ทำ และเข้าใจ ตั้งใจเรียน 
เพื่อน➤ เพื่อนๆสนุก ตั้งใจเรียน
อาจารย์➤ มีกิจกรรมมาให้ทำเพื่อที่จะทำให้ไม่น่าเบื่อ สอนละเอียด เข้าใจง่าย

คำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา

ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
ข้อมูลข่าวสาร (Message)
สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
การสื่อสารทางเดียว (One-Way Communication) 
การสื่อสารสองทาง (Two-Way Communication)
การสื่อสารเชิงวัจนะ (Verbal Communication) 
การสื่อสารเชิงอวัจนะ (Non-Verbal Communication)
การสื่อสารส่วนบุคคล (Intrapersonal Communication)
การสื่อสารระหว่างบุคคล (Interpersonal Communication)
การสื่อสารมวลชน (Mass Communication)

คำถามท้ายบท

1.จงอธิบายความหมายและความสำคัญของการสื่อสารมาโดยสังเขป
ตอบ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารให้ผู้ส่งสารและผู้รับสารเกิดความเข้าใจตรงกันทั้ง 2ฝ่าย

2.การสื่อสารมีความสำคัญกับผู้ปกครองอย่างไร
ตอบ การเข้าใจและสื่อสารให้ชัดเจนกับผู้ปกครองมีผลต่อการให้ความรู้ผู้ปกครอง เพื่อที่จะให้การให้ศึกษาผู้ปกครองมีประสิทธิภาพที่สุด

3.รูปแบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพในการให้ความรู้ผู้ปกครอง ควรเป็นรูปแบบใด จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง
ตอบ รูปแบบการสื่อสารของลาล์สเวล คือ ผู้ส่งสารส่งสารไปให้ผู้รับสาร เช่น ครูแจ้งข่าวสารกับผลว่าต้องการให้เดกเอาของใช้ในบ้านมาคนละ 1 อย่างผ่านป้ายประกาศหน้าห้อง

4.ธรรมชาติและการเรียนรู้ของผู้ปกครองควรมีลักษณะอย่างไร
ตอบ 4.1 เรียนรู้ได้ดีในบรรยากาศที่เป็นวิชาการน้อยที่สุด  4.2 ควรได้รับความต่อเนื่องในการเรียนรู้ทีละขั้นตอน 4.3 เรียนรู้ได้มีดีจากการฝึกปฏิบัติ

5.ปัจจัยที่ช่วยสนับสนุนพฤติกรรมการเรียนรู้สำหรับผู้ปกครอง เพื่อให้ผู้ปกครองมีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ประกอบด้วยปัจจัยด้านใดบ้าง
ตอบ 5.1 ความพร้อม  5.2 ความต้องการ  5.3 อารมณ์และการปรับตัว  5.4 การจูงใจ  5.5 การเสริมแรง  5.6 ทัศนคติและความสนใจ  5.7 ความถนัด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Name: Chutharat Khankhruea   Nickname:  Aung   Identification number: 5811200194   Bachelor's degree: Early Childhood, ...